facebook
LINE
twitter
THE ISLAMMIC COMMITTEE OF KRABI
สำนักงานคณะกรรมการอิสลามประจำจังหวัดกระบี่
หน้าหลัก
ข่าว! ประชาสัมพันธ์
ประมวลภาพกิจกรรม
คณะกรรมการ
ทำเนียบมัสยิด
ประวัติความเป็นมา
พ.ร.บ. ต่างๆ
ดาวน์โหลด
ทำเนียบมัสยิดกระบี่
หน้าหลัก
ประมวลภาพกิจกรรมทั้งหมด
ประมวลภาพกิจกรรม สนง. คณะกรรมการฯ
ประมวลภาพกิจกรรมมัสยิดฯ
ประมวลภาพกิจกรรมทั้งหมด
ประธานกรรมการอิสลามลงพื้นที่บ้านเกาะปอ
วันที่ 11 ตุลาคม 2555 นายอัสนาวี มุคุระ ประธานคณะกรรมการอิสลาม นายส้อแล้ จงรักษ์ รองประธานฝ่ายกิจการพิเศษ นายเจ๊ะอาหลี คมขำ รองประธานเขตเมืองกระบี่ นายส้าหาก ควนใต้คณะกรรมการฝ่ายวิชาการ นายว้าเหตุ มารยากรรมการ ฝ่ายฮาล้าล นายอดุลย์ ผิวดี กรรมการฝ่ายประชาสัมพันธ์ นายวิรัช สีหมุ่น ผู้สื่อข่าวสำนักงานฯ ร่วมละหมาดวันศุกร์กับพี่น้องบ้านเกาะปอ ต. เกาะลันตาใหญ่ อำเภอเกาะลันตา จากคำบอกเล่าจากพี่น้องบ้านเกาะปอบอกว่า นับตั้งแต่ตั้งหมู่บ้านขึ้นหลังสงความโลกครั้งที่ 2 เป็นประธานกรรมการอิสลามคนแรกที่ลงพบพี่น้องบ้านเกาะปอ ** เกาะปอ เป็นเกาะเล็กๆอยู่ในต.เกาะลันตาใหญ่ อ.เกาะลันตา จ.กระบี่ มีประชากร 400 กว่า คน อาชีพหลักของชุมชนเป็นประมงพื้นบ้าน ทำสวน และธุกิจการท่องเที่ยว ชุมชนดั้งเดิมนับไป 7 รุ่น คนดั้งเดิมหรือตระกูลแรกที่เข้ามาคือขุนสมุทร(ผู้หลักผู้ใหญ่ในสมัยก่อน มาจากพัทลุงหนีภัยมา และเป็นชุมชนมุสลิม 99% วิถีของชุมชนมีความร่วมไม้ร่วมมือกันเป็นอย่างดี เคารพผู้นำ มีความสัมพันธ์กันเหมือนพี่เหมือนน้อง ช่วยเหลือเกื้อกูลกันเป็นอย่างดี สภาพทั่วไปเป็นเกาะอยู่กลางทะเล ไม่มีไฟฟ้า ใช้เครื่องปั่นไฟใช้กันเอง มีถนนคอนกรีตเพื่อเป็นทางสัญจรไปมาหาสู่กัน หลังเกิดสึนามิ ได้มีการจัดทำแผนชุมชนแบบมีส่วนร่วม 5 ด้าน ได้แก่ โครงสร้างพื้นฐาน สิ่งแวดล้อม ประเพณีวัฒนธรรม สังคม และการศึกษา การทำแผนเกิดขึ้นโดยการจุดประกายจากองค์กรพัฒนาเอกชนและผู้นำชุมชนเองเห็นปัญหาการพัฒนา ชุมชนจึงเกิดความสนใจที่จะทำแผนของตนเอง โดยสร้างการมีส่วนร่วม ถามความต้องการจากชุมชน
· ความสำเร็จในการพูดคุยกับผู้หญิงมุสลิมหรือชาวบ้านที่ไม่กล้าแสดงออก ได้มีการแบ่งกลุ่มย่อยตามประเด็นยุทธศาสตร์ ตามความสนใจของบุคคล ใช้ความเป็นกันเอง สื่อสารในรูปแบบที่ชาวบ้านเข้าใจ ไม่มีเจ้านาย-ลูกน้อง ทั้งหมดนี้มีการทำงานร่วมกันระหว่างองค์กรพัฒนาเอกชน ผู้ใหญ่บ้าน อบต.
· สร้างความเชื่อมั่นในการทำแผนไปสู่การปฎิบัติ ด้วยการสร้างรูปธรรมความสำเร็จ ดึงผู้มีอำนาจเข้ามามีส่วนร่วม เช่น ได้เชิญผู้ว่าลงพื้นที่ โดยพาลงไปในช่วงเวลาที่น้ำแห้ง ทำให้เห็นปัญหาของชุมชนอย่างชัดเจน ทำให้ความต้องการสะพานท่าเทียบเรือ ทางจังหวัดอนุมัติงบประมาณให้อย่างรวดเร็ว และท่าเทียบเรือดังกล่าวชุมชนได้มีส่วนร่วมในการออกแบบ เพื่อให้สอดคล้องกับวิถีชีวิตของชุมชน
· ตัวอย่างความต้องการด้านอาชีพ ชาวบ้านอยากได้ร้านค้าชุมชน ธนาคารชุมชน สตรี(กลุ่มเครื่องแกง) เยาวชน สปา ฯลฯ
· ตัวอย่างความร่วมมือ เช่น ไฟฟ้าได้มาจากความร่วมมือระหว่างองค์กรภายใน องค์กรภายนอกพื้นที่(สนับสนุนอุปกรณ์) กับชุมชน ร่วมกันดำเนินการ(ชุมชนออกแรง ขนส่ง-ชุมชนนัดกันหยุดงานเพื่อช่วยงานรวม)
· มีธนาคารหมู่บ้านของตนเอง จัดการเงินในชุมชน ปัจจุบันมีสมาชิก 100 กว่าคน
· มีระบบสวัสดิการของทุกกลุ่มอาชีพ ตัดเงินไว้ 5-10% นำไปใช้เป็นสวัสดิการ ซึ่งขึ้นอยู่กับวัตถุประสงค์ของแต่ละกลุ่ม
หลังจากทำแผนชุมชน ขับเคลื่อนแผนแล้ว มีการประชุมของกลุ่มผู้ประสบภัยสึนามิ มีการพูดถึงความสุขของชุมชน และจากการเห็นการอยู่ร่วมกันของชุมชนเกาะปอในระบบเครือญาติ และผลพวงความร่วมมือจากการทำแผน ชุมชนจึงได้เกิดความคิดจัดทำ ความสุขมวลรวม จึงได้ไปเรียนรู้กับ มอส.เข้ามาเป็นพี่เลี้ยงให้ชุมชน
· เริ่มต้นด้วยการศึกษาข้อมูล จากฎฐาน เวียดนาม เขมร ลาว แล้วนำมาประยุกต์ร่วมกันกับคณะกรรมการชุมชน จัดทำตัวชี้วัดความสุข(แบ่งเป็นด้านต่างๆ เช่น การประกอบอาชีพ ความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ ศาสนา วัฒนธรรม สิ่งแวดล้อม การปกครอง ความเป็นอยู่ในครอบครัว สังคมเครือญาติ ระบบเครือญาติของชุมชน) จากนั้นก็มีคณะทำงานเก็บข้อมูลด้วยการเข้าไปนั่งคุยในแต่ละครัวเรือน สอบถามสุข-ทุกข์ของแต่ละครัวเรือน เปรียบเทียบวิถีทุนกับวิถีของชุมชนที่เน้นความสัมพันธุ์ ความเอื้ออาทรของการอยู่ร่วมกัน เพื่อสร้างความไว้วางใจ
· จากนั้นได้มีการสอบถามความสมัครใจแล้วนำมาสู่การทำแบบสำรวจรายครัวเรือน โดยคณะทำงาน 10 คน ประกอบด้วย ผญ. อบต. โต๊ะอิหม่าม สตรี เยาวชน ธนาคารหมู่บ้าน ยกร่างมาให้เวทีประชาคมพิจารณา แล้วให้สมาชิกของแต่ละกลุ่มไปจัดเก็บ โดยให้ครอบคลุมทุกช่วงวัย ทุกคนในชุมชน
· นำข้อมูลที่ได้มาประมวลผลจากระดับครัวเรือนมาเป็นภาพรวมของชุมชน ให้ค่าคะแนนเป็นจำนวนเปอร์เซ็นต์(เต็มสิบ) นำมาสู่การวิเคราะห์สาเหตุว่าทำไมบางด้านจึงมีความสุขน้อย นำมาสู่การจัดระเบียบของชุมชนในการจัดการทรัพยากร(คณะกรรมการชุมชน 25 คนมาร่างระเบียบตามหมวดต่างๆ ได้แก่ ด้านสิ่งแวดล้อม วัฒนธรรม การปกครอง)
· ปี 48 เริ่มต้นทำประชาพิจารณ์ ทำไปนับสิบครั้ง ทำแล้วปรับแก้(คะแนนเสียงแต่ละข้อต้องมีเสียงเกิน 50%จึงถือว่าผ่าน) จนกระทั่งสามารถนำมาใช้ในปี 50 เหตุที่ล่าช้าเพราะว่าบางข้อในระเบียบไปขัดกับประโยชน์ของชาวบ้าน ทางออกในเรื่องนี้คือ ใช้เวทีรวมทำความเข้าใจ ใช้ผู้ใหญ่บ้านลงไปทำความเข้าใจรายบุคคล ชี้ให้เห็นผลดี ผลเสีย
· มีการสรุปบทเรียนร่วมกันในแต่ละปี โดยกลุ่มต่างๆสรุปบทเรียนของตนเองร่วมกับองค์กรพี่เลี้ยง เป็นการติดตามประเมินผลร่วม
· หากมีการละเมิดกติกา มีการเตือน 3 ครั้ง แล้วจับส่งตำรวจ
· อบต.ไม่สามารถนำไปออกเป็นข้อบัญญัติใช้ทั้งตำบล เนื่องจากไปขัดกับประโยชน์ของหมู่บ้านอื่น
ระบบการทำงาน มีคณะกรรมการชุมชน ประกอบด้วยทุกภาคส่วนในหมู่บ้าน มีประธานคือ ผญ.มีกรรมการมาจากกลุ่มต่างๆ ได้แก่ อสม. อช. อนุญาโตตุลากร ผู้นำศาสนา กลุ่มประมงพื้นบ้าน กลุ่มสปา กลุ่มสตรี(เครื่องแกง) กลุ่มธนาคารหมู่บ้าน กลุ่มร้านค้าชุมชน คณะกรรมการโรงเรียน และมีผู้นำอ่าว(หรือคุ้ม) มีที่ปรึกษาจากภายนอก
มีการประชุมร่วมกัน 3 เดือนครั้ง
มีการสื่อสารด้วยการบอกปาก วิ่งบอก หรือผู้นำอ่าวเดินสายขี่มอเตอร์ไซต์บอก
เชื่อมประสานกับใครบ้าง UNDP เครือข่ายฟื้นฟูวิถีชีวิตชุมชนดั้งเดิม มูลนิธิชุมชนไท PDA เครือข่ายประสบภัยสึนามิ ยูนิเซฟ กาชาด มูลนิธิศุภนิมิต ช่วยอุปกรณ์ประมง สภาองค์กรชุมชน เซฟอันดามัน มอส. ภาคีภาครัฐ ได้แก่ อบต. อบจ. จังหวัด
บทเรียนความสำเร็จ
· การทำงานต้องมีธงนำ กรณีเกาะปอคือ กินอิ่ม นอนอุ่น ฝันดี อยู่อย่างพอเพียง ภายใต้กรอบประเพณีวัฒนธรรม
· ปัจจัยหลักของความสำเร็จมาจากการที่ชุมชนเข้าใจสิทธิ รู้จักดูแลทรัพยากรของตนเอง ความร่วมมือของชุมชน ด้วยการสร้างความเข้าใจ สามารถทำความเข้าใจถึงตัวบุคคล ชี้ให้เห็นผลได้ ผลเสีย มีแรงกระตุ้นจากปัญหาของชุมชนที่ขาดการช่วยเหลือจากภายนอก ถูกตัดขาด
· จัดการประโยชน์ชุมชนให้เป็นสาธารณะ ทำให้เกิดความร่วมมือได้มาก
· สร้างความเชื่อมั่นด้วยรูปธรรมความสำเร็จของกิจกรรมในแผนที่มาจากการมีส่วนร่วม
· ระบบเครือญาติเป็นรากฐานความสุขของชุมชน
· ชุมชนให้ความเคารพผู้นำ(ผู้นำทางการ ผู้นำศาสนา ผู้นำธรรมชาติ ผู้นำท้องถิ่น) ผู้นำได้รับความเชื่อถือจากชุมชน
· ใช้หลักศาสนานำชีวิต
· มีผู้นำจากรุ่นสู่รุ่น มาสืบทอดอย่างต่อเนื่อง
**
12 ต.ค. 2555
4173 ครั้ง
Click ดูภาพขยาย
Click ดูภาพขยาย
Click ดูภาพขยาย
Click ดูภาพขยาย
Click ดูภาพขยาย
Click ดูภาพขยาย
Click ดูภาพขยาย
Click ดูภาพขยาย
Click ดูภาพขยาย
Click ดูภาพขยาย
Click ดูภาพขยาย
Click ดูภาพขยาย
Click ดูภาพขยาย
แสดงความคิดเห็น
Web Link สนง.ฯ
ระบบ รับ-ส่ง หนังสือ e-office
ทำเนียบมัสยิด จังหวัดกระบี่
สมาคมสตรีมุสลิม จังหวัดกระบี่
สถานีวิทยุฯ FM 88.25 MHz
ผู้สนับสนุน สนง.ฯ
ข้อมูลร้านอาหาร
ข้อมูลเพิ่มเติม :
www.thaihalal.info
Web Link
อิสลามแห่งประเทศไทย
ทำเนียบมัสยิดกระบี่
สนง. คณะกรรมการอิสลาม กทม.
สมาคมสตรีมุสลิมจังหวัดกระบี่
อัฟยอด